วันอังคารที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2558

ตำนานรักบรรลือโลกอีกเรื่องหนึ่งที่เราจะนำมาเล่าสู่กันฟังในเดือนแห่งความรักนี้ คือ ตำนานรักของ" พระนางคลีโอพัตรา " ตามหน้าประวัติศาสตร์แล้ว พระชายาองค์หนึ่งของพระเจ้าลิป ซึ่งเป็นพระบิดาของ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ก็ทรงมีพระนามว่า " คลีโอพัตรา "

และเมื่อ ราชวงศ์ปโตเลมี ของ มาซีโดเนี่ยน ขึ้นปกครองไอยคุปต์ นาม " คลีโอพัตรา " จึงนิยมตั้งชื่อกันอย่างแพร่หลาย ในหมู่เจ้าหญิงของราชวงศ์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่ราชินีคลีโอพัตราแห่งไอยคุปต์จึงมีถึง 7 พระองค์

ส่วนองค์ที่เราจะได้รับรู้เรื่องเบื้องลึกของพระนางในที่นี้เป็น ราชินีคลีโอพัตราองค์สุดท้าย พระนางทรงเป็น ราชธิดาของ ฟาโรห์ออลีตีส

พระนางคลีโอพัตรา ในความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วไป คือ พระราชินีผู้ทรงเสน่ห์ที่สุด มีรูปโฉมที่งดงาม เพียบพร้อมไปด้วยกลเม็ดเด็ดพรายในเชิงพิศวาส ที่สามารถมัดใจชายผู้เป็นยอดนักรบที่กล้าแกร่งให้มาซบอยู่ตักได้ถึงสองคนในเวลาใกล้เคียงกัน แต่แท้ที่จริงแล้ว เสน่ห์ของพระนางคลีโอพัตรา ไม่ได้อยู่ที่เนื้อหนังมังสา หรือความงดงามแห่งใบหน้าและเรือนกายเลย แต่อยู่ที่สติปัญญาและความเฉลียวฉลาดรู้เท่าทันคนต่างหาก


การที่เราเข้าใจกันว่า พระนางมีเสน่ห์อันล้ำลึก ยั่วยวนใจชาย จนเหลือกำลังนั้น เป็นผลมาจากภาพของ พระนางคลีโอพัตรา ที่เราเห็นจากภาพยนตร์ที่สร้างมาจากบทละครอันลือลั่นของ วิลเลี่ยม เช็คสเปียร์ ชื่อเรื่อง " แอนโทนี - คลีโอพัตรา " นั่นเอง และยิ่งละครและภาพยนตร์ยิ่งดังเท่าไร ผู้คนก็พากันเชื่อมั่นว่า พระนางคลีโอพัตรา จะต้องเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดเท่านั้น

แต่จากหลักฐานที่นักเขียนชีวประวัติลือนามอย่าง " พลูตาร์ค " ได้เขียนถึง พระนางคลีโอพัตรา ไว้ว่า "เราได้รับคำบอกเล่าว่า ความงามของคลีโอพัตรานั้น มิใช่งามเลิศไร้ที่ติ จนดึงดูดสายตาของผู้พบเห็นในนาทีแรก แต่นางมีนางมีเสน่ห์อันใครต้านทานไม่ได้ มีบุคลิกแปลกและทรงอำนาจ จนทำให้ทุกวาจาและท่าทีของนางสะกดผู้คนให้ตกอยู่ในมนต์เสน่ห์อันนี้เอง "

ภาพของพระนางคลีโอพัตราคือ หญิงสาวที่มีเรือนร่างอันอวบอ้วนใบหน้ากลม ปากบางสวย แต่มีจมูกที่ทั้งใหญ่และงุ้ม แม้ว่ารูปโฉมของพระนางคลีโอพัตรา ราชินีแห่งไอยคุปต์จะไม่เหมือนอย่างที่เราเคยรับรู้ แต่บุคลิกและเอกลักษณ์ของพระนาง ที่เลอค่ามากกว่ารูปโฉม จนกลายเป็นเสน่ห์ที่มั่นคงและมากขึ้นตามอายุไข นั่นก็คือ สติปัญญาและความรอบรู้ พระนางทรงเชี่ยวชาญในด้านคณิตศาสตร์ รอบรู้เรื่องรัฐศาสตร์ และหลักการปกครอง อันเป็นคุณสมบัติของผู้นำที่ดี

รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์อย่างยอดเยี่ยม สามารถพูดได้ถึง 6 ภาษา รวมทั้งยังเก่งเรื่องอักษรศาสตร์และศิลปศาสตร์ เพราะตลอดเวลา 22 ปีที่ทรงครองบัลลังก์อยู่ พระนางแต่งโคลงกลอนไว้มากมาย รวมทั้งให้ความอุปถัมภ์ค้ำชูศิลปกรรมสาขาต่าง ๆ มากมาย

ด้วยความเก่งกาจของ พระนางคลีโอพัตรา ที่มีอยู่มากมาย ทำให้ฟาโรห์ผู้เป็นพระราชบิดาของพระนาง แต่งตั้งให้พระนางขึ้นครองราชบัลลังก์ คู่กับพระองค์ในปี 52 ก่อนค.ศ. และพระนางก็สามารถบริหารราชการบ้านเมืองคู่พระบิดามาได้ด้วยความเรียบร้อย จนเมื่อพระบิดาสวรรคต ความทุกข์ความขมขื่นในชีวิตของพระนาง ก็เริ่มต้นขึ้นเมื่อตามธรรมเนียมไอยคุปต์ ที่สืบทอดบัลลังก์กันทางผู้หญิง

โดยที่ราชธิดาของฟาโรห์จะได้รับการตระเตรียมเพื่อเป็นราชินี โดยที่จะต้องแต่งงานกันในระหว่างพี่น้อง พระนางคลีโอพัตราจึงหนีไม่พ้นกฎเกณฑ์ข้อนี้
พระนางถูกวางตัวให้อยู่ในตำแหน่งาชินี และต้องแต่งงานกับ ฟาโรห์ปโตเลมีที่ 13 น้องชายของพระนางเองแต่โชคร้ายที่พี่น้องคู่นี้เกลียดกัน ถึงขนาดต้องการจะฟาดฟันให้ตายกันไปข้างหนึ่งทีเดียว ผู้เป็นน้องชายจึงจ้องจะหาทางกำจัดพี่สาว ส่วนพระนางคลีโอพัตราก็อยากจะกำจัดน้องชายเสียให้สิ้นเรื่อง แต่ในเวลานั้น พระนางยังไม่ทรงแน่ใจ ในอำนาจที่มีอยู่ในมือ จึงต้องเป็นฝ่ายล่าถอยออกจากเมืองอเล็กซานเดรียเพื่อไปตั้งหลัก

พระนางเริ่มมองหาพันธมิตร เพื่อช่วยเหลือในการกำจัดฟาโรห์ออกจากบัลลังก์ให้ได้ซึ่งเป็นช่วงประจวบเหมาะกับเหตุการณ์ที่ โรม เริ่มรุกรานดินแดนแถบเมดิเตอร์เรเนียน โดยมี จูเลียส ซีซาร์ เป็นแม่ทัพยกมาทางอียิปต์
พระนางเห็นเป็นจังหวะเหมาะ จึงลอบเข้าเมืองเพื่อไปหา ซีซาร์

มาถึงตอนนี้ ที่เราเห็นในภาพยนตร์คือ พระนางคลีโอพัตรา ซ่อนร่างอยู่ในม้วนพรม แล้วให้ทาสแบกเข้าไปในวังที่ซีซาร์พัก เมื่อคลี่พรมออก ก็ปรากฏเรือนร่างเปลือยเปล่าของพระนางออกมาร่ายรำ แต่จริง ๆ แล้ว หาได้เป็นเช่นนั้นไม่แต่เป็นเพราะ การเจรจาที่ฉลาดเฉียบแหลมทางสติปัญญาของพระนางต่างหากที่ทำให้ จูเลียต ซีซาร์ ยอมช่วย ราชินีไอยคุปต์ให้ได้ครองบัลลังก์ แต่เพียงผู้เดียว

ซีซาร์ บัญชาการทหารให้ทำลายล้างกองทัพอียิปห์ ที่ต่อต้านพระนางคลีโอพัตรา และการสงครามในครั้งนี้ ซีซาร์ได้เผาเรือรบของตนตามแผนยุทธการ
แต่บังเอิญไฟได้ลามไปถึง หอสมุดอเล็กซานเดรีย ไหม้ส่วนที่เป็นเอกสารสำคัญเหตุการณ์เพลิงไหม้ในครั้งนนั้นได้รับการขนามนามให้เป็น " ความทรงจำของมนุษชาติ "พอเพลิงสงบก็พบศพของ ปโตเลมีที่ 13 จมอยู่ในแม่น้ำไนล์ในชุดเกราะทองครบครัน และเล่าลือกันว่า พระนางคลีโอพัตรา นั่นเองที่เป็นคนผลักลงไป

เมื่อปราศจากผู้ครองนคร ซีซาร์ในฐานะที่ตีเมืองได้ก็ต้องแต่งตั้งผู้ครองนครขึ้นมาน้องชายอายุ 12 ปีของพระนางคลีโอพัตราจึงได้เป็นปโตเลมีที่ 14
ส่วนซีซาร์และพระนางคลีโอพัตรา ก็กลายเป็นคู่เชยคู่ดังแห่งยุค เมื่อซีซาร์ยกทัพกลับกรุงโรมได้ไม่นาน พระนางคลีโอพัตราก็ตั้งครรภ์ พระนางได้ตั้งชื่อพระโอรสว่า ปโตเลมีซีซาร์ แต่คนทั่วไปเรียกว่า ซีซาร์เรียน พระนางพาโอรสมาเยือนกรุงโรมในปี 46 ก่อน ค.ศ. ตามคำเชิญของซีซาร์ ซึ่งทำการต้อนรับพระนางอย่างยิ่งใหญ่ พระนางนั้นหวังว่า ซีซาร์จะแต่งตั้งโอรสให้เป็นผู้สืบทอดอำนาจ แต่ว่า จูเลียต ซีซาร์ ก็ต้องมาถูกฆ่าตายกลางสภาในกลางเดือนมีนาคมปี 44 ก่อน ค.ศ. นั่นเอง ก่อนตายเขาได้แต่งตั้งหลานชายคือ อ๊อคตาเวีย ขึ้นครองกรุงโรมพระนางคลีโอพัตราจึงต้องพาโอรสกลับอเล็กซานเดรียด้วยความผิดหวัง

" ความรัก คลีโอพัตรา มาร์ค แอนโทนี่ "

พระนางคลีโอพัตรา เงียบหายไปหลายปี เพราะมัวยุ่งอยู่กับการฟื้นฟูอียิปต์ และผูกไมตรีกับเพื่อนบ้านไม่ว่าจะ ยิว หรือ อาหรับ ในที่สุด อียิปต์ก็กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง จนกระทั่ง มาร์คุส อันโทนิอุส หรือ มาร์ค แอนโทนี ขุนพลของโรมัน ส่งสารเชิญพระนางคลีโอพัตราไปพบ เพื่อหารือขอความช่วยเหลือ เมื่อพระนางไปพบ มาร์ค แอนโทนี่ ที่เมืองทาร์ซุส ความรักครั้งยิ่งใหญ่ก็บังเกิดขึ้น และดำเนินไปด้วยความหวานชื่น

แต่ก็ให้เกิดเหตุบังเอิญเมื่อ ฟุลเวีย ภรรยาคนที่สามก่อกบฏ แต่ก็ต้องพ่ายแพ้แก่อ๊อคตาเวีย และโดนประหารในที่สุด แอนโทนี จึงต้องกลับบ้าน และตกลงแต่งงานกับน้องสาวของ อ๊อคตาเวีย เพื่อสานสัมพันธ์กันใหม่

พระนางคลีโอพัตรา แทบคลั่งเมื่อได้ทราบการแต่งงานของชู้รัก
ต่อมา พระนางก็ให้กำเนิดลูกแฝดแก่ แอนโทนี และตั้งชื่อว่า อเล็กซานเดอร์ เฮลิออส และ คลีโอพัตราเซเลเน แล้วจู่ ๆ มาร์ค แอนโทนี ก็ติดต่อมาอีก ทั้งคู่จึงกลับมาคืนดีกัน ด้วยความหวานชื่นอีกครั้ง

ทางด้านกรุงโรมก็กำลังวุ่นวาย เมื่อรู้ว่า แอนโทนี กับ คลีโอพัตรา สนิทแนบแน่นกันนั้น อาจจะกำลังมีแผนการอย่างอื่นอยู่ อ๊อคตาเวีย จึงเรียกร้องให้ คลีโอพัตรา ส่งเสบียงกรังมาเป็นส่วย แต่ แอนโทนี ห้ามไว้

เมื่อแน่ใจแล้วว่า แอนโทนี กำลังแปรพักตร์ไปเข้ากับอียิปต์ อ๊อคตาเวีย จึงประกาศให้ ชาวโรม ฟังว่า แอนโทนี มีแผนจะย้ายเมืองหลวงหรือก่อกบฎนั่นเอง แอนโทนี จึงประกาศว่า อ๊อคตาเวีย ไม่ใช่ทายาทที่ถูกต้อง แต่ ซีซาร์เรียน เท่านั้น ที่เป็นทายาทตัวจริงของซีซาร์ และมีสิทธ์ครองกรุงโรม

อ๊อคตาเวีย จึงเกลี้ยกล่อม สภาซีเนท ของโรม ให้เห็นถึงอันตรายของอียิปต์ ภายใต้การปกครองของ แอนโทนี และ คลีโอพัตรา ในที่สุด โรมจึงประกาศสงครามกับอียิปต์ปี 31 ก่อน ค.ศ.

กองทัพโรมัน ก็บ่ายหน้าสู่อียิปต์ มาร์ค แอนโทนี ยกกองทัพเรือออกไป โดยมี คลีโอพัตราลงเรือของเธอไปสังเกตการณ์กองทัพของฝ่ายโรมันและอียิปต์เข้าโรมรันกันอย่างดุเดือด พระนางคลีโอพัตรา ตกพระทัยในศึกดุเดือดเบื้องหน้า จึงสั่งให้เรือของเธอกลับลำหนี เมื่อแอนโทนีหันมาเห็นเข้า ก็ถอดเสื้อเกราะทิ้ง แล้วแล่นเรือไล่ตามหลังพระนางมา

การรบเป็นอันจบสิ้น รวมทั้งชีวิตของคนทั้งสองด้วย

เมื่อพบกับความพ่ายแพ้ มาร์ค แอนโทนี จึงฆ่าตัวตายในอ้อมแขนของ พระนางคลีโอพัตรา ส่วนพระนางก็ดื่มยาพิษฆ่าตัวตายตามคู่รักไป อียิปต์จึงตกเป็นของโรมันตั้งแต่นั้นมา หลักฐานของเหตุการณ์ต่าง ๆ ยังคงปรากฏให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาประวัติศาสตร์กันมาหลายยุคหลายสมัย แต่เว้นอยู่อย่างเดียวคือ ไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่จะระบุสุสานของ มาร์ค แอนโทนี และ พระนางคลีโอพัตรา อยู่ที่ไหน ความลับเกี่ยวกับที่เก็บศพของคู่รักบันลือโลกคู่นี้จึงยังเป็นความลับอยู่ตลอดมา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น