วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2557

นิทานเรื่องเสือตีนโต

มีสามีภรรยาคู่หนึ่งอาชีพทำไร่ อยู่มาวันหนึ่งทั้งสองคนต่างก็ไปช่วยกัน
ทำไร่เหมือนเคย เผอิญวันนั้นไม่ได้ห่อข้าวไปกิน คิดว่าจะกลับไปกินกันที่บ้าน
พอตกบ่าย สองสามีภรรยาก็ชวนกันกลับบ้าน เมื่อถึงบ้านสามีจึงพูดกับภรรยาว่า
  "นี่น้อง ไปหุงหาอาหารมากินกันเถอะ วันนี้ไม่รู้เป็นอะไรพี่หิวจังเลย"
ฝ่ายภรรยานั้นเป็นคนเกียจคร้านไม่ชอบหุงหาอาหารอยู่แล้ว
เมื่อได้ยินสามีพูดดังนั้น จึงตรงไปยังห้องครัว เข้าไปเปิดหม้อข้าวดู
ก็เห็นมีข้าวเหลืออยู่ น่าจะพอแบ่งกันกินได้
จึงบอกกับสามีไปว่า
"ข้าวมีอยู่แล้วพี่ กับข้าวเมื่อเช้านี้ก็ยังเหลือ พี่หิวก็มากินได้เลย"
"เอ้างั้นก็ตกลง น้องก็มากินพร้อมกันเลยซิ" สามีพูด
สามีภรรยาต่างก็แบ่งข้าวกันกินคนละจาน ข้าวในหม้อจึงเหลืออีกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
เผอิญมีเพื่อนคนหนึ่งมาที่บ้าน 
"เอ้ากำลังทำอะไรอยู่ละ" เพื่อนเอ่ยถาม
"กำลังจะกินข้าวกลางวันกัน มาๆ มานั่งกินข้าวด้วยกัน" สามีกล่าวเชิญชวนเพื่อน
ที่มาเยี่ยมตามธรรมเนียมไทยแท้ของคนไทย
"แหม กินสักหน่อยก็ดีเหมือนกัน กำลังหิวอยู่พอดีเชียว"
เพื่อนก็มานั่งร่วมวงกินข้าวด้วย ภรรยาจึงตักข้าวที่เหลืออยู่ในหม้อ
ให้แขกที่มาเยี่ยมเยือน ข้าวที่มีเหลืออยู่ในหม้อเพียงน้อยนิดก็หมดลง
ทั้งสามคนต่างกินกันไปคุยกันไป ข้าวในจานแต่ละคนก็ร่อยหรอทีละนิด
เผอิญข้าวในจานของเพื่อนหมดก่อน เพื่อนก็คอยโอกาสให้เจ้าของบ้าน
คดข้าวให้ตนเพิ่ม แต่ก็ไม่ตักให้เสียที ฝ่ายเพื่อนยังไม่อิ่ม
จึงคิดหาอุบายที่จะบอกให้เจ้าของบ้านคดข้าวให้ จึงพูดขึ้นว่า
"เมื่อวานนี้ เราไปเที่ยวในป่ามา โอ้โฮเพื่อนเอ๋ย เราไปเจอเสือตัวหนึ่งรอยตีนโต
ขนาดจานข้าวนี่เลย"เพื่อนพูดพร้อมกับเอียงจานให้เจ้าของบ้านดู
เจ้าของบ้านเมื่อเห็นดังนี้ ก็ถือโอกาสเล่าต่อว่า
"เมื่อวานนี้เหมือนกันนั่นแหละ เราก็ไปเที่ยวป่ามาเหมือนกัน
โอ้โฮเพื่อนเอ๋ย เราไปเจอช้างรอยตีนโตขนาดหม้อนี่แหละ"
พูดพร้อมเอียงหม้อให้ดู เพราะข้าวก็หมดหม้อแล้วเหมือนกัน

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า...
"การจะพูดบอกอะไรใครนั้น ในบางครั้งเราจะพูดบอกตรงๆไม่ได้
เพราะอาจเป็นการเสียมารยาท ผู้ฉลาดมักจะหาวิธีการบอก
ให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ได้โดยอ้อม"

วันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2557


ประเทศรัสเซีย













รัสเซีย (Russia) (ภาษารัสเซีย: Росси́я, Rossija ออกเสียง [rʌ'sʲi.jə]) หรือ สหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Federation) (Росси́йская Федера́ция, Rossijskaja Federatsija ออกเสียง [rʌ'sʲi.skə.jə fʲɪ.dʲɪ'ra.ʦɪ.jə])  เป็นประเทศที่มีอาณาบริเวณตั้งแต่ทางตะวันออกของทวีปยุโรป และทางเหนือของทวีปเอเชีย เป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในโลก (เป็นสองเท่าของอันดับสอง คือ ประเทศแคนาดา) เดิมเป็นสมาชิกของสหภาพโซเวียต และเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุด มีอิทธิพลที่สุดของโซเวียต  
ประเทศรัสเซียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 เขตสหพันธ์ (federal districts) แต่ละเขตสหพันธ์แบ่งย่อยลงไปอีกเป็น สาธารณรัฐ (Republics - respubliki ) ดินแดน (Territories - kraya ) แคว้น (Provinces - oblasti ) นครสหพันธ์ (Federal cities - federalnyye goroda ) แคว้นปกครองตนเอง (Autonomous oblast - avtonomnaya oblast ) เขตปกครองตนเอง (Autonomous districts - avtonomnyye okruga ) รวมทั้งหมด 21 สาธารณรัฐ 7 ดินแดน 47 แคว้น 2 นครสหพันธ์ 1 แคว้นปกครองตนเอง และ 6 เขตปกตรองตนเอง ได้แก่
 
เขตการปกครองของสหพันธรัฐรัสเซีย
1. สาธารณรัฐอะดีเกยา (Adygeya)
2. สาธารณรัฐบัชคอร์โตสถาน (Bashkortostan)
3. สาธารณรัฐบูเรียตียา (Buryatia)
4. สาธารณรัฐอัลไต (Altai)
5. สาธารณรัฐดาเกสถาน(Dagestan)
6. สาธารณัฐอินกูเชเตีย (Ingushetia)
7. สาธารณรัฐคาบาร์ดีโน-บัลคาเรีย (Kabardino-Balkaria)
8. สาธารณรัฐคัลมืยคียา (Kalmykia)
9. สาธารณรัฐคาราไช-เชียร์เคสส์ (Karachay-Cherkessia)
10. สาธารณรัฐคาเรลียา (Kareliya)
11. สาธาณรัฐโคมิ (Komi)
12. สาธารณรัฐมารีอิ-เอล (Marii-El)
13. สาธารณรัฐมอร์โดเวีย (Mordovia)
14. สาธารณรัฐซาฮา (ยาคูตียา) (Sakha; Yakutia)
15. สาธารณรัฐนอร์ทออสซีเชีย-อาลาเนีย(North Ossetia-Alania)
16. สาธารณรัฐตาตาร์สถาน (Tatarstan)
17. สาธารณรัฐตูวา (Tuva)
18. สาธารณรัฐอุดมูร์ต (Udmurtia)
19. สาธารณรัฐฮาคาซียา(Khakassia)
20. สาธารณรัฐเชชเนีย (Chechnya)
21. สาธารณรัฐชูวัช (Chuvashia)
22. ดินแดนอัลไต (Altai)
23. ดินแดนครัสโนดาร์ (Krasnodar)
24. ดินแดนครัสโนยาสค์ (Krasnoyarsk)
25. ดินแดนปรีมอร์สกี(Primorsky)
26. ดินแดนสตัฟโรปอล (Stavropol)
27. ดินแดนคาบารอฟสค์ (Khabarovsk)
28. แคว้นอามูร์ (Amur)
29. แคว้นอาร์คันเกลสค์ (Arkhangelsk)
30. แคว้นอัสตราคัน (Astrakhan)
31. แคว้นเบลโกรอด (Belgorod)
32. แคว้นบรีอันสค์ (Bryansk)
33. แคว้นวลาดีมีร์ (Vladimir)
34. แคว้นวอลโกกราด (Volgograd)
35. แคว้นโวลอกดา(Vologda)
36. แคว้นโวโรเนช (Voronezh)
37. แคว้นอีวาโนโว (Ivanovo)
38. แคว้นอีคุตคส์ (Irkutsk)
39. แคว้นคาลินินกราด (Kaliningrad)
40. แคว้นคาลูกา (Kaluga)
41. แคว้นเคเมโรโว (Kemerovo)
42. แคว้นคีรอฟ (Kirov)
43. แคว้นโคสโตมา (Kostroma)
44. แคว้นคูร์กัน (Kurgan)
45. แคว้นครุสค์ (Kursk)
46. แคว้นเลนินกราด (Leningrad)
47. แคว้นลีเปตสค์ (Lipetsk)
48. แคว้นมากาดาน (Magadan)
49. แคว้นมอสโก (Moscow)
50. แคว้นมูร์มันสค์ (Murmansk)
51. แคว้นนิจนีนอฟโกรอด (Nizhny Novgorod)
52. แคว้นนอฟโกรอด (Novgorod)
53. แคว้นโนโวซีบีสค์ (Novosibirsk)
54. แคว้นออมสค์ (Omsk)
55. แคว้นโอเรนบุร์ก (Orenburg)
56. แคว้นโอริออล (Oryol)
57. แคว้นเปนซา (Penza)
58. แคว้นปัสคอฟ (Pskov)
59. แคว้นรอสตอฟ (Rostov)
60. แคว้นรีซาน (Ryazan)
61. แคว้นซามารา (Samara)
62. แคว้นซาราตอฟ (Saratov)
63. แคว้นซาคาลิน (Sakhalin)
64. แคว้นสเวียร์ดอฟสค์ (Sverdlovsk)
65. แคว้นสโมเลนสค์ (Smolensk)
66. แคว้นตัมบอฟ (Tambov)
67. แคว้นตเวียร์ (Tver)
68. แคว้นตอมสค์ (Tomsk)
69. แคว้นตูลา (Тula)
70. แคว้นตูย์เมน (Tyumen)
71. แคว้นอูลยานอฟสค์ (Ulyanovsk)
72. แคว้นเชเลียบินสค์ (Chelyabinsk)
73. แคว้นชีตา (Chita)
74. แคว้นยาโรสลัฟล์ (Yaroslavl)
75. นครสหพันธ์มอสโก (Moscow)
76. นครสหพันธ์เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก (St. Petersburg)
77. แคว้นปกครองตนเองยิว (เยฟเรสกายา) (Jewish)
78. เขตปกตรองตนเองอะกิน-บูเรียต (Aga Buryatia)
79. เขตปกครองตนเองเนเนสต์ (Nenetsia)
80. เขตปกครองตนเองอุสต์-ออร์ดินสกีบูเรียต (Ust-Orda Buryatia)
81. เขตปกครองตนเองฮันดี-มันซี (Khantia-Mansia)
82. เขตปกครองตนเองซูคอตตา (Chukotka)
83. เขตปกครองตนเองยามาโล-เนเนสต์ (Yamalia)
84. ดินแดนเปียร์ม (Perm)

ภูมิศาสตร์
ดินแดนอันกว้างใหญ่ของสหพันธรัฐรัสเซียครอบคลุมพื้นที่แถบตะวันออกเฉียงเหนือเหนือของทวีปยูเรเชีย จุดที่ห่างไกลกันที่สุดของรัสเซีย ซึ่งได้แก่ชายแดนที่ติดต่อกับโปแลนด์และหมู่เกาะคูริล มีระยะห่างถึง 8,000 กิโลเมตร ทำให้รัสเซียมีถึง 11 เขตเวลา รัสเซียมีเขตป่าสงวนที่ใหญ่ที่สุดในโลก และถูกเรียกว่าเป็น "ปอดของยุโรป" เพราะปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ดูดซึมนั้นเป็นรองเพียงแค่ป่าดิบชื้นแอมะซอนเท่านั้น รัสเซียมีทางออกสู่มหาสมุทรถึงสามแห่ง ได้แก่มหาสมุทรแอตแลนติก อาร์กติก และแปซิฟิก จึงทำให้รัสเซียเป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญต่ออุปทานของสินค้าประมงในโลก
พื้นที่ส่วนใหญ่ของรัสเซียเป็นที่ราบกว้างใหญ่ ทางตอนใต้ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสเตปป์ มีป่าไม้มากทางตอนเหนือ และมีพื้นที่แบบทุนดราตามชายฝั่งทางเหนือ เทือกเขาจะอยู่ตามชายแดนทางใต้ เช่นเทือกเขาคอเคซัส ซึ่งมียอดเขาเอลบรุส ที่มีความสูง 5,642 เมตรและเป็นจุดสูงสุดของรัสเซียและยุโรป หรือเทือกเขาอัลไต และทางตะวันออก เช่นเทือกเขาเวอร์โฮยันสค์ หรือภูเขาไฟในแหลมคัมชัตคา เทือกเขาอูรัลทางตะวันตกวางตัวเหนือใต้และเป็นเขตแดนทางธรรมชาติของทวีปเอเชียและทวีปยุโรป


รัสเซียมีชายฝั่งที่ยาวถึง 37,000 กิโลเมตร ตามแนวมหาสมุทรอาร์กติก มหาสมุทรแปซิฟิก ทะเลบอลติก ทะเลอะซอฟ ทะเลดำ และทะเลแคสเปียน นอกจากนั้น รัสเซียยังมีทางออกสู่ทะเลแบเร็นตส์ ทะเลขาว ทะเลคารา ทะเลแลปทิฟ ทะเลไซบีเรียนตะวันออก ทะเลชุกชี ทะเลเบริง ทะเลโอค็อตสก์ และทะเลญี่ปุ่น เกาะและหมู่เกาะที่สำคัญได้แก่ หมู่เกาะโนวายาเซมเลีย หมู่เกาะฟรัสซ์โยเซฟแลนด์ หมู่เกาะเซเวอร์นายาเซมเลีย หมู่เกาะนิวไซบีเรีย เกาะแวรงเกล เกาะคูริล และเกาะซาคาลิน เกาะดีโอมีด (ซึ่งเกาะหนึ่งปกครองโดยรัสเซีย ส่วนอีกเกาะปกครองโดยสหรัฐอเมริกา) อยู่ห่างกันเพียง 3 กิโลเมตร และเกาะคุนาชิร์ก็อยู่ห่างจากฮอกไกโดเพียงประมาณ 20 กิโลเมตร
ประชากร

สัดส่วนของเชื้อชาติ (ค.ศ. 2002)
ชาวรัสเซีย
79.8%
ทาทาร์
3.8%
ชาวยูเครน
2.0%
ชูวาช
1.1%
เชเชน
0.9%
ชาวอาร์เมเนีย
0.8%
อื่น ๆ/ไม่ระบุ
10.3%


จากการประมาณวันที่ 1 มกราคม 2008 ประเทศรัสเซียมีประชากร 142 ล้านคน จำนวนประชากรของรัสเซียมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่คริสตทศวรรษที่ 1990 ซึ่งเป็นผลจากอัตราการตายที่สูงและอัตราการเกิดที่ต่ำ ในขณะที่อัตราการเกิดในรัสเซียมีพอ ๆ กับประเทศยุโรปอื่น ๆ (อัตราการเกิด 11.3 คนต่อประชากร 1000 คนในปี 2007 เทียบกับอัตราเฉลี่ย 10.25 คนต่อประชากร 1000 คนของสหภาพยุโรป) แต่ประชากรกลับลดลงเพราะอัตราการตายสูงกว่า (ในปี 2007 อัตราการตายของรัสเซียคือ 14.7 คนต่อประชากร 1000 คน เมื่อเที่ยบกับอัตราเฉลี่ยของสหภาพยุโรป 10.39 คนต่อ 1000 คน) ปัญหาประชากรที่ลดลงนี้ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ รัฐบาลจึงตั้งมาตรการต่าง ๆ ในการลดอัตราการตาย เพิ่มอัตราการเกิด พัฒนาสุขภาพของประชาชน กระทรวงสาธารณสุขของรัสเซียคาดการณ์ว่าอัตราการตายและอัตราการเกิดจะปรับตัวจนเท่ากันภายในปี 2011ประชากรส่วนมากนับถือศาสนาคริสต์ นิกายรัสเซียนออร์ทอดอกซ์ รัสเซียมีพื้นที่มากที่สุดในโลก แต่เมื่อเทียบกับประชากรแล้ว ความหนาแน่นเพียงแค่ 40 เปอร์เซนต์เท่านั้น

 เศรษฐกิจรัสเซียเป็นแหล่งน้ำมันปิโตรเลียมและแก๊สธรรมชาติที่สำคัญของยุโรป
รัสเซียสามารถฟื้นตัวจากวิกฤติทางการเงินในปี 1998 และมีการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี เนื่องจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้น การลงทุนจากต่างประเทศที่เพิ่มขึ้น การขยายตัวของการบริโภคในประเทศ และความมั่นคงทางการเมือง ในปี 2007 รัสเซียมีจีดีพีใหญ่เป็นอันดับที่ 6 ของโลก (มูลค่า 2.088 ล้านล้านดอลลาร์ เมื่อวัดด้วยความเท่าเทียมกันของอำนาจซื้อ) ค่าแรงเฉลี่ยต่อเดือนในรัสเซียเพิ่มขึ้นจาก 80 ดอลลาร์ในปี 2000 เป็น 640 ดอลลาร์ในต้นปี 2008 ชาวรัสเซียที่ยากจนมีประมาณร้อยละ 14 ในปี 2007 ซึ่งลดลงอย่างมากจากร้อยละ 40 ในปี 1998 ซึ่งสถิติสูงสุดหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย อัตราว่างงานในรัสเซียลดลงจากร้อยละ 12.4 ในปี 1999 เหลือร้อยละ 6 ในปี 2007 การที่ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นนี้ทำให้ตลาดของชนชั้นกลางในรัสเซียขยายตัวหลายเท่า
รัสเซียมีแหล่งทรัพยากรแก๊สธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีแหล่งทรัพยากรถ่านหินใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และมีแหล่งทรัพยากรน้ำมันที่ใหญ่เป็นอันดับแปดของโลก รัสเซียเป็นประเทศที่ส่งออกแก๊สธรรมชาติมากเป็นอันดับหนึ่ง และส่งออกน้ำมันมากเป็นอันดับสองของโลก น้ำมัน แก๊สธรรมชาติ โลหะ และไม้ เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญและมีมูลค่ามากถึงร้อยละ 80 ของการส่งออกทั้งหมดแต่หลังปี 2003 การส่งออกทรัพยากรธรรมชาติก็เริ่มลดความสำคัญลงเพราะตลาดภายในประเทศขยายตัวขึ้นอย่างมาก แม้ว่าราคาทรัพยากรด้านพลังงานจะสูงขึ้นมาก แต่น้ำมันและแก๊สธรรมชาติก็มีสัดส่วนเพียงร้อยละ 5.7 ของจีดีพี และรัฐบาลคาดการณ์ว่าสัดส่วนนี้จะลดลงเหลือร้อยละ 3.7 ภายในปี 2011 รัสเซียยังนับว่าเป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ดีกว่าประเทศที่ร่ำรวยทรัพยากรอื่น ๆ รัสเซียมีจำนวนประชากรที่จบการศึกษาระดับอุดมศึกษามากกว่าประเทศอื่นในทวีปยุโรป
ระบบภาษีที่เข้าใจง่ายกว่าเดิมเริ่มบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2001 ซึ่งทำให้ภาระต่อประชาชนลดลงในขณะที่รายได้ของรัฐเพิ่มขึ้น รัสเซียใช้ระบบอัตราภาษีคงที่ที่ร้อยละ 13 กับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และทำให้กลายเป็นประเทศที่มีระบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ดึงดูดผู้บริหารได้ดีเป็นอันดับสองรองจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จากการสำรวจในปี 2007 งบประมาณของรัฐเกินดุลตั้งแต่ปี 2001 และจนถึงสิ้นปี 2007 มีงบประมาณเกินดุลมาร้อยละ 6 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ รัสเซียใช้รายได้จากน้ำมันที่ได้รับผ่านกองทุนความมั่นคงของสหพันธรัฐรัสเซียในการจ่ายหนี้ซึ่งเกิดขึ้นในยุคโซเวียตคืนแก่ปารีสคลับและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ รายได้จากการส่งออกน้ำมันยังสามารถทำให้รัสเซียมีเงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มจาก 12 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 1999 เป็น 5.97 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2008 ซึ่งสูงเป็นอันดับสามของโลก รัสเซียยังสามารถลดหนี้ต่างประเทศที่ก่อขึ้นในอดีตได้อย่างมาก อย่างไรก็ตาม การพัฒนาทางเศรษฐกิจของประเทศไม่เท่าเทียมกันในแต่ละภูมิภาค โดยเขตมอสโกเป็นเขตที่ส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศมากที่สุด
วัฒนธรรม
ศาสนา ส่วนใหญ่นับถือคริสต์ศาสนานิกายออร์โธดอกซ์รัสเซีย (ร้อยละ 70) ที่เหลือนับถือศาสนาอิสลาม (ร้อยละ 5.5) คริสต์ศาสนานิกายคาทอลิก (ร้อยละ 1.8) และพุทธศาสนานิกายมหายาน (ร้อยละ 0.6)