วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557

ชาผู่เอ่อร์

ต้นกำเนิดของชาผู่เอ่อร์เริ่มมาจาก Cha Ma Gu Dao หรือเส้นทางโบราณที่ใช้คาราวานม้าเป็นพาหนะในการขนส่งใบชาผู่เอ่อร์จากมณฑล ยูนนานไปยังเมือง หรือประเทศอื่นๆ โดยมีเส้นทางหลักที่สำคัญอยู่ 3 สาย (แยกเป็น 6 เส้นทางขนส่ง) คือ
1. สายยูนนาน – ปักกิ่ง
2. สายยูนนาน – ธิเบต
3. สายยูนนาน – ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงค์โปร์ มาเลเซีย พม่า ไทย ฯลฯ
ในเส้นทางทั้ง 3 สายนี้ เส้นทางสายยูนนาน – ธิเบต ถือเป็นเส้นทางขนส่งที่ยาวไกล อันตราย และมีความยากลำบากในการขนส่งใบชาผู่เอ่อร์มากที่สุด โดยได้เริ่มใช้เป็นเส้นทางขนส่งนี้มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง เริ่มจากมณฑลยูนนาน ขนส่งผ่านเมืองต้าหลี่ ลี่เจียง แชงกรีล่า จนกระทั่งไปถึงธิเบต แต่เนื่องจากระยะทางในการขนส่งใบชาผู่เอ่อร์ไปตามเส้นทางแต่ละสายนั้นใช้เวลานานหลาย เดือน ส่งผลให้ใบชามีกลิ่นหืน พ่อค้า และผู้ผลิตใบชาผู่เอ่อร์ในยุคนั้น จึงได้คิดหาวิธีที่จะทำให้ใบชาผู่เอ่อร์สามารถเก็บรักษาได้เป็นระยะเวลายาวนาน โดยคงคุณสมบัติ คุณภาพ และรสชาติของใบชาไว้ตามเดิม จึงได้นำ ใบชาผู่เอ่อร์มาผ่านกระบวนการหมักบ่ม และอัดแน่นจนเป็นก้อน ซึ่งวิธีการนี้ นอกจากจะสามารถทำให้ใบชาไม่มีกลิ่นหืนแล้ว ยังทำให้สามารถเก็บใบชาผู่เอ่อร์ไว้ได้นานเท่าที่ต้องการ อีกทั้งการอัดบรรจุเป็นก้อน ก็จะเพิ่มความสะดวกในการขนส่งมากยิ่งขึ้น
(puerhtea) 200999_82749.jpg (puerhtea) 2009910_36775.jpg

การขนส่ง ชาผู่เอ่อร์ เส้นทางสายชานอกจากนี้ นักประวัติศาสตร์และโบราณคดียังค้นพบบันทึกเรื่องราวของชาผู่เอ่อร์ว่า ได้มีการใช้ชาผู่เอ่อร์เป็นเครื่องราชบรรณาการถวายแด่จักรพรรดิ์จีนมาตั้ง แต่เื่มื่อ 3,000 ปีก่อน เพียงแต่ในยุคสมัยนั้น ยังไม่มีการเรียกใบชาชนิดนี้ว่า ชาผู่เอ่อร์เท่านั้นเอง ต่อมาเมื่อมาถึงยุคราชวงศ์ถังจึงได้เริ่มบูรณาการการเพาะปลูกใบชาภายใต้ชื่อ “ชาผู่เอ่อร์” ซึ่งนับแต่นั้นมา ชาผู่เอ่อร์จึงเริ่มเป็นที่รู้จัก และ มีบทบาทที่สำคัญทางการค้า และเศรษฐกิจของประเทศจีนมาตั้งแต่อดีตกาล

เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยราชวงศ์ชิงอันเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีน ความนิยมชาผู่เอ่อร์ได้พุ่งขึ้นมาถึงจุดสูงสุด โดยในขณะนั้น ชาผู่เอ่อร์มีราคาจำหน่ายที่สูงมาก ยิ่งเป็นชาผู่เอ่อร์คุณภาพดีเป็นพิเศษด้วยแล้ว อาจมีราคาจำหน่ายสูงกว่าทองคำถึงสองเท่า และเริ่มมีการใช้ชาผู่เอ่อร์เป็นชาในพระราชสำนัก ซึ่งมีคำบอกเล่าว่า ชาผู่เอ่อร์เป็นชาที่พระนางซูสีไทเฮาทรงโปรดปรานยิ่งนัก จนถึงกับมีการใช้ชาผู่เอ่อร์นี้ เป็นเครื่องราชบรรณาการถวายให้แก่จักรพรรดิ์ หรือกษัตริย์ของประเทศอื่นๆ ด้วย

เมื่อมาถึงยุคสมัยที่ประเทศจีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ และสถาปนา “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ขึ้นในปีค.ศ. 1949 ซึ่งเป็นช่วงที่ธุรกิจใบชายูนนานซบเซาลงอย่างมาก จนถึงยุคสมัยหลังการเปิดประเทศ และปฏิรูปแผนพัฒนาเศรษฐกิจของจีน รัฐบาลมณฑลยูนนานก็มิได้ให้ความสนใจต่อการพัฒนาใบชาคุณภาพที่มีประวิตศาสตร์ อันยาวนานอย่างชาผู่เอ่อร์แต่อย่างใด แต่กลับให้ความสำคัญในการเพาะปลูกชาเขียว และชาแดงเสียมากกว่าเมื่อ ถึงยุคปัจจุบัน ในช่วงที่สังคมและเศรษฐกิจมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น ชาวจีนต่างก็มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ผู้คนจึงเริ่มหันมาสนใจในการดูแลรักษาสุขภาพ และให้ความสำคัญกับเรื่องของรสชาติในการบริโภคมากยิ่งขึ้น ใบชาผู่เอ่อร์จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทในสังคมจีนอีกครั้งหนึ่ง หาก แต่การกลับมาของชาผู่เอ่อร์ในครั้งนี้ มิได้เป็นที่นิยมแต่เฉพาะในมณฑลยูนนาน หรือมณฑลอื่นๆ ในประเทศจีนเท่านั้น หากแต่กระแสการดื่มชาผู้เอ่อร์ยังโด่งดังไปจนถึงฮ่องกง ไต้หวัน สิงค์โปร์ อเมริกา ฝรั่งเศส รวมถึงประเทศไทยด้วย

ใน ปัจจุบัน เมื่อชาผู่เอ่อร์กลับมาได้รับความนิยม จึงทำให้ศิลปะในการหมักบ่ม และการชงชาผู่เอ่อร์แต่โบราณได้ถูกนำมาศึกษาวิจัย และพัฒนาอย่างต่อเนื่องอีกครั้งหนึ่ง โดยประเภทและชนิดของชาผู่เอ่อร์นั้น ล้วนมีความแตกต่างกันไปในเรื่องของสรรพคุณ วิธีการชงชา การเก็บรักษา หรือแม้แต่ความสะดวกในการพกพา จากวัฒนธรรมแต่โบราณในการใช้คาราวานม้าเป็นพาหนะในการขนส่งใบชาผู่เอ่อร์ มาถึงความนิยมชมชอบด้วยสรรพคุณทางด้านตัวยาของชาผู่เอ่อร์ในปัจจุบัน จึงทำให้รัฐบาลมณฑลยูนนานตระหนักถึงคุณค่า โอกาส และความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจของชาผู่เอ่อร์ ดังจะเห็นได้จากช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลมณฑลยูนนานได้ทุ่มงบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์เส้นทางโบราณสายดังกล่าว รวมถึงรื้อฟื้นวัฒนธรรมโบราณ และโฆษณาถึงประโยชน์ในกาีรบริโภคชาผู่เอ่อร์ให้รู้จักกันอย่างกว้างขวางมาก ยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น