บีทรูท หรือ บีตรูต (อ่านว่า บีท-รูท) มีชื่อเรียกอื่นว่า ผักกาดฝรั่ง ผักกาดแดง
บีทรูท เป็นผักเพื่อสุขภาพประจำเมืองหนาวที่ปลูกกันมากทางภาคเหนือของบ้านเรา โดยมีต้นกำเนิดในแถบเมดิเตอร์เรเนียน แถบยุโรป โดยมีรากหรือหัวพืชที่สะสมอาหารอยู่ใต้ดิน มีลักษณะทรงกลมป้อม เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 4-5 เซนติเมตร เนื้อด้านในอวบน้ำ มีสีแดงเลือดหมู ม่วงแดง และเหลือง
การเลือกซื้อและการเก็บรักษาบีทรูท สำหรับการเลือกซื้อควรเลือกหัวบีทรูทที่มีขนาดเล็ก เพราะจะมีเนื้อละเอียดและให้รสหวานมากกว่าหัวบีทรูทขนาดใหญ่ มีผิวไม่เหี่ยว จับดูเนื้อแล้วไม่นิ่ม แต่ถ้าใบติดอยู่ด้วย ก็ให้เลือดหัวที่ใบยังสดอยู่ แล้วนำมาตัดใบให้เหลือก้านประมาณ 3 เซนติเมตร หลังจากนั้นนำไปล้างน้ำให้สะอาด แล้วเก็บใส่ในถุงตาข่ายวางไว้ในที่ร่ม หรือจะนำมาแช่ในตู้เย็นตรงช่องเก็บผักก็ได้ ซึ่งจะเก็บไว้ได้นานถึง 2 อาทิตย์
หัวบีทรูท มีสารสีแดงที่มีชื่อว่า บีทานิน (Betanin) ซึ่งเป็น กรดอะมิโน เป็นตัวช่วยยับยั้งการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยลดการเติบโตของเนื้องอกได้ แถมยังทำให้เลือดลมและระบบการไหลเวียนของเลือดทำงานได้ดีมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีสารสีม่วงที่มีชื่อว่า แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็น สารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดสารก่อมะเร็ง และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและอัมพาตได้อีกด้วย !
โดยบีทรูทจะมีขายทางภาคเหนือซะเป็นส่วนมาก และมีขายทั่วไปตามห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ แต่ถ้าเป็นกรุงเทพก็หาซื้อได้ที่ ตลาด อ.ต.ก, ตลาดไทย, ตลาดสี่มุมเมือง และในห้างต่าง ๆ โดยราคาของบีทรูทก็อยู่ที่ประมาณ 45-70 บาทต่อ 1 กิโลกรัม
ประโยชน์ของบีทรูท
เนื้อของบีทรูทเต็มไปด้วยวิตามินเอ ซึ่งช่วยบำรุงสายตา วิตามินบีรวม ตลอดจนมีสารสีแดงในหัวคือ เบทานิน (betanin) เป็นกรดอะมิโนที่มีสรรพคุณยับยั้งการเจริญเติบโตของเนื้องอกและมะเร็ง ช่วยทำให้เลือดลมดี และการไหลเวียนของโลหิตดีขึ้น นอกจากนี้ส่วนประกอบสีแดงของบีทรูท หรือที่เรียกว่า สารเบทานิน (Betanin) อุดมไปด้วยวิตามินซี นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่มออกซิเจนให้เซลล์ต่างๆ ในร่างกายได้ถึง400% จึงช่วยให้ห่างไกลจากโรคมะเร็ง
ผลข้างเคียงจากการรับประทานบีทรูท
การรับประทานอาหารที่ทำมาจากบีทรูทมากเกินไป จะทำให้ปัสสาวะ เป็นสีชมพูหรือสีแดง ซึ่งอาจจะทำให้เข้าใจผิด คิดว่าเป็นเลือดในปัสสาวะ อาการนี้เรียกว่า "บีทูเรีย" (beeturia) เกิดขึ้นเนื่องจากการกินบีทรูทมากเกินไป ซึ่งทำให้เม็ดสีที่ชื่อ บีทาเลียน (betalian) ในร่างกายมีจำนวนมากขึ้น และเมื่อมันเพิ่มจำนวนขึ้น กลไกของร่างกายจะทำการขจัดด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะขับออกมาทางปัสสาวะนั่นเอง แต่อาการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน จะมีเพียง 10-14% ของประชากรทั้งหมดเท่านั้น และจากการได้รับแคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate) มากเกินไป ซึ่งบีทรูทเป็นหนึ่งใน อาหาร ที่มี oxalates ที่จะทำให้ร่างกายไม่ดูดซึม แคลเซียม เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วในไตได้
นิ่วชนิดที่เกิดจากแคลเซียม พบได้บ่อยที่สุด ประมาณ 75-85% ของนิ่วในไตทั้งหมด ซึ่งชนิดที่พบบ่อย คือ แคลเซียมออกซาเลต (Calcium oxalate, สาร oxalate เป็นสารพบในพืช โดยเฉพาะผัก ยอดผักต่างๆ และถั่ว) เป็นนิ่วชนิดพบบ่อยในผู้ชาย เป็นนิ่วที่ตรวจพบได้จากการเอกซเรย์ภาพไต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น