วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เหมา เจ๋อ ตุง
เหมา เจ๋อ ตง หรือ เหมา เจ๋อ ตุง เกิดที่มณฑลหูหนาน จบการศึกษาจากวิทยาลัยฝึกหัดครู ก่อนจะเข้าร่วมพรรคคอมมิวนิสต์จีน หลังจากถูกปราบปรามโดยนายพลเจียงไคเชก เหมาได้ขึ้นมาเป็นประธานของคณะโปลิตบูโรของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน ภายใต้การปกครองของเหมาเจ๋อตุง พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนได้ชนะสงครามกลางเมืองจีน และปกครองจีนแผ่นดินใหญ่ได้ เหมาเจ๋อตุงได้ประกาศตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม ค.ศ. 1949 ที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน

เหมาได้นำประเทศเข้าเป็นพันธมิตรกับสหภาพโซเวียต ก่อนจะแยกตัวมาภายหลัง เขายังเป็นผู้นำให้เกิดการปฏิวัติวัฒนธรรม

เหมาได้รับการยกย่องให้รวมประเทศจีนเป็นปึกแผ่นอีกครั้ง หลังจากตกอยู่ใต้อิทธิพลของต่างชาติตั้งแต่สงครามฝิ่น ในประเทศเขาถูกเรียกว่า ประธานเหมา (Chairman Mao) แต่เขาปกครองประเทศจีน และก็มีป้ายปรากฏคำวิพากษ์วิจารณ์ต่อพรรคคอมมิวนิสต์ เป็นครั้งสุดท้ายที่เหมาจะขอความคิดเห็นกับประชาชนจีน ไม่ช้าหลังจากนั้นเขาก็กำจัดคนที่ออกมาพูดอย่างอำมหิต คนหลายแสนคนถูกระบุว่าเป็นพลเรือนฝ่ายขวา และถูกไล่ออกจากงานคน หลายหมื่นคนถูกส่งเข้าคุก แต่เหมาไม่สนใจอีกต่อไป เขาแวดล้อมด้วยลูกขุนพลอยพยักและมีอิสระที่จะดำเนินตามความคิด ซึ่งมีน้อยคนนักที่จะคาดเดาปลายทางได้
เหมารวมพลคนใจเดียวกัน ก่อตั้งพรรคคอมมิวนิสต์จีนใน ค.ศ.1921 และปีเดียวกัน เขาเป็นแกนนำหยุดงานประท้วงของคนงานเหมืองแร่ที่อันหยวน เขียนหนังสือ “พลังปฏิวัติเบ่งบานออกมาจากปากกระบอกปืน” แล้วก่อตั้งกองทัพแดงกรรมกรและชาวนา ตามด้วยกองทัพปลดแอกประชาชน ปฏิบัติการ “ป่าล้อมเมือง” จนมีชัยเหนือเจียงไคเชก
เหมาเจ๋อตุง กุมอำนาจรัฐเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เขาสถาปนา “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ดำรงตำแหน่งประธานสาธารณรัฐจนถึง ค.ศ.1969
หลักการของเหมาเจ๋อตุง 
หลักการของเหมาเจ๋อตุงนั้นเน้นการใช้อำนาจเด็ดขาด หรือวิธีการเผด็จการโดยชนชั้นกรรมาชีพภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์ เหมาเจ๋อตุงเห็นว่าอำนาจนั้นจะได้มาก็ด้วยการปฏิวัติ ดังคำกล่าวว่า “อำนาจรัฐเกิดจากกระบอกปืน” กล่าวคือ “หลักการของเราคือ พรรคบัญชาปืน จะยอมให้ปืนมาบัญชาพรรคไม่ได้เป็นอันขาด แต่เป็นความจริงที่เมื่อมีปืนแล้ว ก็สามารถสร้างพรรคขึ้นมาได้” เหมาเจ๋อตุงย้ำว่า การปฏิวัติเป็นการต่อสู้โดยไม่ต้องคำนึงหรือนำพาต่อคำคัดค้านใดๆ ทั้งสิ้น

จุดมุ่งหมายของเหมาเจ๋อตุง
  1. ในด้านเศรษฐกิจ เหมาเจ๋อตุงเน้นความสำคัญ หรือความทุกข์ร้อนของชาวไร่ ชาวนามากยิ่งกว่าความทุกข์ร้อนของชนชั้นกรรมาชีพ ฉะนั้น เหมาเจ๋อตุงจึงมุ่งการปฏิวัติเพื่อชนบทโดยใช้กลยุทธ “ป่าล้อมเมือง” และใช้ระบบคอมมูน ซึ่งเป็นเขตการเกษตรกรรม อันประกอบด้วยกองผลิตเล็ก และกองผลิตใหญ่
     
  2. เหมาเจ๋อตุงมีความปรารถนาอย่างแน่วแน่ และจริงจัง ในการวางรากฐานของระบบคอมมิวนิสต์ในเอเชีย โดยใช้สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นศูนย์กลาง เพื่อเผยแพร่อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ให้บรรลุเป้าหมาย ฉะนั้น คอมมิวนิสต์ส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชีย ได้ยึดถือแนวความคิดของเหมาเจ๋อตุงเป็นหลักการในการดำเนินการที่เรียกว่า “ลัทธิเหมา” (Maoism)

    เหมาเจ๋อตุงได้เรียกวิธีการของตนว่า “ประชาธิปไตยแผนใหม่” ซึ่งเน้นความสำคัญในการรวมกลุ่มชาวไร่ ชาวนา กรรมกร ปัญญาชน และนายทุน เข้ามาเป็นแกนกลางของคอมมิวนิสต์ เพื่อสนับสนุนการปฏิวัติ
     
  3. เหมาเจ๋อตุงให้ความสำคัญของการต่อสู้ด้วยการใช้กำลังพลและอาวุธ โดยแสดงออกในรูปของสงครามปลดปล่อย ซึ่งมีทหารป่า และกองโจรติดอาวุธเป็นหัวหอกในการขยายอิทธิพล สำหรับกลยุทธที่ทหารป่า และกองโจรดำเนินการนั้นใช้หลัก “มึงมา ข้ามุด มึงหยุด ข้าแหย่ มึงแย่ ข้าตี มึงหนี ข้าตาม”
นอกจากนั้น เหมาเจ๋อตุงได้ใช้ตำราพิชัยสงครามของ “ซุ่นจื่อ” 3 ประการ กล่าวคือ
  1. ต้องเอาชนะจิตใจประชาชน คือการแย่งชิงปวงชน
  2. ต้องเอาชนะเพื่อให้ได้มาซึ่งเสบียงอาหาร
  3. ต้องพิชิตป้อมปราการของศัตรูให้จงได้
เหมาเจ๋อตุงได้อธิบายหลักพิชัยสงครามนี้ โดยได้อุปมาอุปไมยว่า “ทหารเปรียบเสมือนปลา ประชาชนเปรียบเสมือนน้ำ ถ้าปลาขาดน้ำก็จะตายฉันใด ถ้าทหารอยู่ห่างไกลจากประชาชน ก็จะตายฉันนั้น”

ปรัชญาการเมือง 
หัวใจของปรัชญาทางการเมืองของเหมาเจ๋อตุง คือ “มวลชนสู่มวลชน ” หมายถึง นโยบายของพรรคต้องเริ่มต้นจากมวลชนโดยตรงโดยวิธีการดังนี้
  1. รวบรวมความคิดเห็นของมวลชนที่กระจายไม่เป็นระเบียบ
  2. ศึกษาความคิดเห็นที่ได้รวบรวมและเสนอผู้บังคับบัญชา
  3. ผู้บังคับบัญชาให้คำแนะนำและส่งคืนสู่ประชาชน
  4. เมื่อมวลชนยอมรับ ก็คือนโยบาย
ลัทธิมาร์กซิสตามทรรศนะของเหมาเจ๋อตุงพิจารณาถึงอดีต เพื่อเป็นแนวทาง ในการประยุกต์เพื่อปัจจุบัน และยังเชื่ออีกว่าในขณะที่สังคมกำลังเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปเรื่อยการเมืองต้องมีอำนาจบังคับบัญชาทุกอย่างได้

ความขัดแย้งในความคิดของ เหมาเจ๋อตุงมี 2 ประเภท คือ 
1. ความคิดที่ขัดแย้งเกี่ยวกับตนเอง และศัตรู
2. ความขัดแย้งที่ไม่เกี่ยวกับตนเอง ซึ่งแบ่งได้ดังนี้
  1. ระหว่างอุตสาหกรรมหนักกับการเกษตรกรรม
  2. ระหว่างอำนาจส่วนกลางกับท้องถิ่น
  3. ระหว่างในเมืองกับชนบท
  4. ระหว่างชนกลุ่มน้อยในชาติกับประชาชนชาวฮั่น ซึ่งเป็นชนส่วนใหญ่ของประเทศ
การปฏิวัติวัฒนธรรมที่ความมุ่งหมายเพื่อแก้ไขความขัดแย้งระหว่างระบบรวมอำนาจทางเศรษฐกิจของชนชั้นกรรมาชีพ และปัจเจกนิยมชนชั้นกระฏุมพี ดังนั้นจึงถูกเรียกว่า “การปฏิวัติทางวัฒนธรรม”

ทฤษฎีการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุง 
ระดับพัฒนาการของทุนนิยมในจีนในยุคของเหมาเจ๋อตุงนั้นไม่ได้เป็นสังคมทุนนิยมตามความหมายในลัทธิมาร์กซ์ แต่เป็นสังคมที่เหมาเจ๋อตุงเรียกว่า “กึ่งศักดินา กึ่งอาณานิคม” ดังนั้น ในเมื่อลัทธิมาร์กซ์มิได้ผูกขาดขบวนการปฏิวัติเพื่อสังคมนิยมไว้กับวิธีการปฏิวัติอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะ หากเป็นลัทธิที่เปิดกว้างให้กับการนำเอากลวิธีใดก็ได้มาใช้ หากกลวิธีดังกล่าวสามารถนำไปสู่ความสำเร็จได้ เหมาเจ๋อตุงจึงได้พยายามศึกษาคิดค้นแนวทางดำเนินการ และกลวิธีในการทำสงครามปฏิวัติที่เหมาะสม และสอดคล้องกับสภาพการณ์ตามความเป็นจริงที่ปรากฏในจีนขณะนั้น

ในเมื่อพัฒนาการของสังคมจีนมีรากฐานทางเศรษฐกิจ (โครงสร้างขั้นพื้นฐานทางเศรษฐกิจ) ที่แตกต่างมากจากสังคมทุนนิยมของยุโรปตะวันตก การเน้นบทบาทของปัจจัยด้านอัตวิสัยจึงเป็นสิ่งจำเป็นต่อการผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามแนวทฤษฏีการปฏิวัติของลัทธิมาร์กซ์ ซึ่งการเน้นบทบาท และความสำคัญของปัจจัยอัตวิสัยในการทำการปฏิวัติของจีนเป็นที่ประจักชัดจากการที่เหมาเจ๋อตุง ได้ชี้ให้เห็นว่าไม่มีการขัดกันระหว่างลัทธิจิตสำนึก (voluntarism) กับลัทธิวัตถุกำหนด (economic determinism) โดย เหมาเจ๋อตุง ยอมรับว่าวัตถุเป็นเครื่องกำหนดระบบความคิดและความคงอยู่ของสังคม และความสำนึกของบุคคลในสังคม แต่ขณะเดียวกันเขาเห็นว่าอำนาจของความสำนึกอาจเปลี่ยนสภาพวัตถุได้เหมือนกัน

พลังของจิตสำนึก (ปัจจัยอัตวิสัย) ซึ่งตามลัทธิมาร์กซ์ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างส่วนบน (superstructure) จะสามารถก่อความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ก็ต่อเมื่อมีความสัมพันธ์และสัมผัสโดยตรงกับสภาพความเป็นจริงทางเศรษฐกิจการเมืองที่ปรากฏในแต่ละห้วงเวลาของประวัติศาสตร์ ด้วยเหตุผลดังกล่าว ความคิดของเหมาเกี่ยวกับการปฏิวัติจึงได้เน้นให้ความสำคัญแก่ชาวนามากกว่ากรรมกรในการทำการปฏิวัติ ทั้งนี้มิได้หมายความว่าเหมาปฏิเสธลัทธิมาร์กซ์เกี่ยวกับความสำคัญของชนชั้นกรรมาชีพในการปฏิวัติ แต่เป็นเพราะจีนในยุคของเหมา ไม่มีจำนวนกรรมกรที่เป็นชนชั้นกรรมาชีพเพียงพอที่จะทำการปฏิวัติ และข้อสำคัญที่สุดคือ การที่เหมาได้มอบบทบาทหลักในการทำปฏิวัติจีนให้แก่ชนชั้นชาวนาหาไม่ได้มีความหมายว่าเหมาเจ๋อตุงได้เปลี่ยนหลักการขั้นพื้นฐานของลัทธิมาร์กซ์ - เลนิน ทั้งนี้เหมาได้เน้นอีกด้วยว่าถึงแม้การปฏิวัติของจีนโดยเนื้อหาแล้วจะเป็นการปฏิวัติของชาวนา แต่การปฏิวัติดังกล่าวจำต้องนำโดยฝ่ายกรรมาชีพ หรืออีกนัยหนึ่งต้องเป็นการปฏิวัติที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์

ลักษณะเด่นอีกด้านหนึ่งของแนวความคิดเกี่ยวกับการปฏิวัติของเหมาเจ๋อตุงที่มีลักษณะจำเพาะต่างจากลัทธิมาร์กซ์ - เลนิน (แต่ยังคงรักษาเนื้อหาและหลักการเดิมไว้) คือ การเปลี่ยนความคิดเดิมของลัทธิเลนินที่ว่าเส้นทางไปสู่ชัยชนะของการปฏิวัติมีจุดศูนย์กลางที่การลุกฮือในเมืองโดยเหมาเจ๋อตุงได้เปลี่ยนรูปแบบของการปฏิวัติโซเวียตจากเมืองสู่ชนบทเป็นชนบทสู่เมือง โดยเน้นลักษณะการทำสงครามปฏิวัติที่ยืดเยื้อมีชนบทเป็นที่ตั้งของศูนย์อำนาจปฏิวัติ นอกจากนั้นโดยที่จีนยุคปฏิวัติตกอยู่ภายใต้การรุกรานและยึดครองของญี่ปุ่นจึงนับเป็นการเปิดโอกาสให้เหมาเจ๋อตุงทำการโยงปัญหาการปฏิวัติเข้าโดยตรงกับปัญหาความอยู่รอดของจีน ซึ่งมีส่วนสำคัญช่วยให้พรรคคอมมิวนิสต์จีนสามารถเรียกร้องการสนับสนุนจากประชาชนจำนวนมากจนประสบชัยชนะในที่สุด

จะเห็นได้ว่าเหมาเจ๋อตุงนิยมใช้วิธีการรุนแรง ที่เรียกกันว่า “อำนาจต้องได้มาด้วยกระบอกปืน” และเหมาเจ๋อตุงมีความเชื่ออย่างมั่นคงว่า ด้วยวิธีการใช้กำลังพลเข้าโจมตีอย่างหาญหัก และด้วยวิธีการอันฉับพลันทันใด คอมมิวนิสต์จะเป็นฝ่ายชนะในที่สุด

ลัทธิคอมมิวนิสต์ได้เกิดขึ้นมาในตอนต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่า สมัยนั้นผู้ใช้แรงงานยังได้รับค่าจ้างแรงงานค่อนข้างต่ำ และสวัสดิการในด้านต่าง ๆก็ไม่สู้ดีนัก แต่ในปัจจุบันนี้ ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้พัฒนาไปมาก ทำให้สถานภาพและความเป็นอยู่ของคนงานโดยส่วนรวมดีขึ้น ฉะนั้นลัทธิคอมมิวนิสต์จึงอาจล้าสมัย และนอกจากนั้นปรากฏว่ายังไม่มีประเทศใดในโลกนี้ได้บรรลุความเป็นคอมมิวนิสต์โดยสมบูรณ์แม้แต่ประเทศเดียว

สังคมนิยม และคอมมิวนิสต์
  • แนวคิดในเรื่องสังคมนิยมเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยเพลโต้เขียนเรื่อง อุตมรัฐ และ เซอร์ โธมัส มอร์เขียนเรื่อง ยูโทเปีย
  • ส่วนแนวคิดแบบคอมมิวนิสต์เป็นแนวคิดที่เกิดจากแนวคิดของ คาร์ล มาร์กซ์ จุดประสงค์ คือ ต้องการทำลายแนวคิดแบบประชาธิปไตย ที่มีลักษณะเป็นเหมือนปลาใหญ่กินปลาเล็ก จึงต้องการสร้างสังคมที่ปราศจากชนชั้น
สังคมนิยม 
แนวความคิดของลัทธิสังคมนิยมได้เกิดขึ้นก่อนคริสตศักราช กล่าวคือ เพลโตได้วาดมโนภาพไว้ว่า สรรพสิ่งทั้งปวงเป็นของกลางเพื่อให้คนทุกชั้นได้บริโภค

วิวัฒนาการของสังคมนิยมได้เริ่มตั้งแต่การขยายตัวของอุตสาหกรรมในระบบทุนนิยมในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 18 และตอนต้นคริสตศตวรรษที่ 19 กล่าวคือผู้ใช้แรงงานหรือกรรมกรซึ่งไม่มีทั้งความรู้ และทรัพย์สินได้รับความทุกข์ยาก และมีความยากจนข้นแค้นเป็นอย่างมาก นักสังคมนิยมจึงได้แสวงหาวิธีการที่จะสร้างสังคมใหม่ที่ปราศจากความอยุติธรรมและความไม่เท่าเทียมกัน นักคิดเหล่านี้เสนอแนะให้มนุษย์ช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยให้พิจารณาถึงผู้ยากจนเป็นกรณีพิเศษ

สังคมนิยมมี 2 แบบ คือ
  1. สังคมนิยมแบบอุดมคติ (Utopian Socialism)
  2. สังคมนิยมแบบประชาธิปไตย (Democratic Socialism)
คอมมิวนิสต์ 
คำว่า “คอมมิวนิสต์” (Communist) เริ่มมีขึ้นราวปี ค.ศ. 1834-1839 พวกสมาคมลับที่จะปฏิวัติฝรั่งเศสคิดขึ้น หมายถึง “การรวมกันของบรรดาทรัพย์สิน เป็นของกลางร่วมกันทั้งหมด” (Community of goods) โดยเห็นว่าความไม่เท่าเทียมกันของความสุขสมบูรณ์ และความยากจนของมนุษย์ ส่วนใหญ่เกิดจากการที่ต่างคนต่างเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ทำให้เกิดความไม่เท่าเทียมกัน

คอมมิวนิสต์ เป็นลัทธิขบวนการปฏิวัติที่พยายามจะล้มล้างลัทธิทุนนิยม และจัดตั้งสังคมใหม่ โดยให้ถือว่าทรัพย์สินทั้งหมดเป็นของส่วนรวม การดำเนินการเศรษฐกิจจะเป็นไปตามแผนการ และอยู่ในความควบคุมจัดการของส่วนรวม โดยแบ่งส่วนเฉลี่ยทรัพย์แก่ทุกคนตามหลักการที่ว่า “แต่ละคนทำงานตามความสามารถของตนแต่ละคนได้รับสิ่งที่ตนต้องการ”

จุดประสงค์หลักของคอมมิวนิสต์
  1. มุ่งก่อตั้งสังคมไร้ชนชั้น
  2. เครื่องมือการผลิตต้องกระจายไป
  3. การแลกเปลี่ยนทุกชนิดต้องเป็นของประชาคม
  4. รัฐซึ่งเป็นเครื่องมือกดขี่ประชาชนจะต้องสลายไป
  5. ถ้ายังไปไม่ถึงอุดมการณ์นั้น ให้เรียกว่า “สังคมนิยม” หรือ “เผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ”
หลักคอมมิวนิสต์ 
คือ แต่ละคนทำงานตามความสามารถของเขา และรับปันผลผลิตจากสังคมนิยมตามความจำเป็นของเขา

จุดแข็งของคอมมิวนิสต์ 
คือ การดึงปัญญาชนเข้ามามีบทบาท แล้วถ่ายทอดสู่ชนชั้นแรงงานระดับล่าง ความจริงแล้วลัทธินี้ก็คือ กลุ่มแนวคิดที่เข้ามาแทนที่ช่องว่างอันเกิดมาจากการสลายตัวขององค์กรทางศาสนานั่นเอง

ความเหมือน และความแตกต่างระหว่างสังคมนิยม และคอมมิวนิสต์ 
ความเหมือน 
ประชาคม หรือรัฐเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต แต่ยังไม่มีผู้ใดค้นพบวิธีที่จะให้ประชาคมเข้าทำการควบคุม จึงต้องมีรัฐไว้เพื่อทำหน้าที่บริการแทนไปก่อน
ความแตกต่าง
สังคมนิยมถือว่าพวกเขาสามารถก่อตั้ง และดำรงระบบของพวกตนเอาไว้ด้วยวิถีประชาธิปไตย ซึ่งคอมมิวนิสต์ไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ และกล่าวหาสังคมนิยมว่าเป็นพวกประนีประนอมกับนายทุน
The goldfish is a freshwater fish that are often misunderstood. They are one of the earliest fish to be domesticated as pets and are the most common fish kept in an aquarium. This fish is a small member of the carp family. Goldfish are basically a domesticated version of the carp that are native to eastern Asia. First domesticated in China over a thousand years ago, there are many distinct breeds that have since been developed. They vary in size, shape, fin type and color.

In China during the Jin Dynasty there were various species of carp that were domesticated and raised as food. Some of the gray or silver colored species have the tendency to produce red, orange and yellow color mutations. The color mutations were first noted during in this period but it is thought that the mutations had been taking place for thousands of years.

During the Tang Dynasty, it was highly popular to raise carp in ponds and water gardens. A naturally occurring genetic mutation produced the gold color of the fish. People started to intentionally breed the gold color rather than the normal silver color. By keeping the fish in their ponds or other small bodies of water they could mostly breed out the silver color. On special occasions the gold fish were placed on display in small containers.

By the start of the Song Dynasty, the domesticated goldfish were fully established. By 1162 CE, the empress had ordered the construction of a pond specifically for collecting the red and gold colored fish. By this point in time, those that were outside of the imperial family were forbidden to have goldfish that were the gold color, as it was the imperial color and was protected. This is likely the reason why there are more of the orange goldfish in existence than the yellow colored goldfish.

In the Ming Dynasty, the goldfish were brought indoors. This led to additional mutations that could never survive in the ponds outdoors. Colors other than the red and gold fish were first noted in 1276 CE. The Ming Dynasty is also where the first reference of the fancy tailed goldfish can be found. In 1603 CE, the goldfish were introduced into Japan where the Ryukin and Tosakin goldfish were developed. Shortly after this in 1611, the goldfish were brought to Portugal and from there they traveled to other locations in Europe.

Over many centuries there has been a lot of selective breeding that has produced several different colors and sometimes even multiple colors. There are also many different body shapes, fin styles and eye setting configurations that make some goldfish look like they are from a different planet. Some of the more extreme versions of goldfish can only live in aquariums and are fairly delicate. At this time there are roughly 300 breeds of goldfish that are official breeds in China. The majority of goldfish breeds that exist today originated in China.

In the 1620s, goldfish became highly sought after in most of southern Europe due to their metallic looking scales that symbolized good luck and fortune. It quickly became a tradition for newly married men to give their wife a goldfish as a gift at their one year wedding anniversary. This was done as a symbol for prosperity in the years to come. Sadly this tradition quickly died out once the goldfish became more and more readily available. Goldfish were first brought to us here in North America around 1850 CE and became highly popular pets in the United States.

When found in the wild most goldfish are actually an olive green or grey color. The introduction of the domestic goldfish in the wild can cause multiple issues for the native wild species of the fish. Goldfish can mate with other similar species of carp creating a hybrid. Interestingly within three generations of breeding, the majority of the hybrid fish return to their natural olive or grey colors. The color mutation of the domestic goldfish can also be found in other species such as the common carp. Koi can also be breed with goldfish and produce a sterile fish that can not breed.

The domestic goldfish come in many different varieties. Domestic goldfish are highly unlikely to survive outside of their tanks or ponds due to their bright colored fins. However other varieties like the Shubunkin might be able to survive just long enough to mate with their wild cousins. The common comet goldfish can survive in the wild and can do fairly well in just about any climate.