วันอังคารที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2557
ชาผู่เอ่อร์
ต้นกำเนิดของชาผู่เอ่อร์เริ่มมาจาก Cha Ma Gu Dao หรือเส้นทางโบราณที่ใช้คาราวานม้าเป็นพาหนะในการขนส่งใบชาผู่เอ่อร์จากมณฑล ยูนนานไปยังเมือง หรือประเทศอื่นๆ โดยมีเส้นทางหลักที่สำคัญอยู่ 3 สาย (แยกเป็น 6 เส้นทางขนส่ง) คือ1. สายยูนนาน – ปักกิ่ง
2. สายยูนนาน – ธิเบต
3. สายยูนนาน – ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สิงค์โปร์ มาเลเซีย พม่า ไทย ฯลฯ
ในเส้นทางทั้ง 3 สายนี้ เส้นทางสายยูนนาน – ธิเบต ถือเป็นเส้นทางขนส่งที่ยาวไกล อันตราย และมีความยากลำบากในการขนส่งใบชาผู่เอ่อร์มากที่สุด โดยได้เริ่มใช้เป็นเส้นทางขนส่งนี้มาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง เริ่มจากมณฑลยูนนาน ขนส่งผ่านเมืองต้าหลี่ ลี่เจียง แชงกรีล่า จนกระทั่งไปถึงธิเบต แต่เนื่องจากระยะทางในการขนส่งใบชาผู่เอ่อร์ไปตามเส้นทางแต่ละสายนั้นใช้เวลานานหลาย เดือน ส่งผลให้ใบชามีกลิ่นหืน พ่อค้า และผู้ผลิตใบชาผู่เอ่อร์ในยุคนั้น จึงได้คิดหาวิธีที่จะทำให้ใบชาผู่เอ่อร์สามารถเก็บรักษาได้เป็นระยะเวลายาวนาน โดยคงคุณสมบัติ คุณภาพ และรสชาติของใบชาไว้ตามเดิม จึงได้นำ ใบชาผู่เอ่อร์มาผ่านกระบวนการหมักบ่ม และอัดแน่นจนเป็นก้อน ซึ่งวิธีการนี้ นอกจากจะสามารถทำให้ใบชาไม่มีกลิ่นหืนแล้ว ยังทำให้สามารถเก็บใบชาผู่เอ่อร์ไว้ได้นานเท่าที่ต้องการ อีกทั้งการอัดบรรจุเป็นก้อน ก็จะเพิ่มความสะดวกในการขนส่งมากยิ่งขึ้น
การขนส่ง ชาผู่เอ่อร์ เส้นทางสายชานอกจากนี้ นักประวัติศาสตร์และโบราณคดียังค้นพบบันทึกเรื่องราวของชาผู่เอ่อร์ว่า ได้มีการใช้ชาผู่เอ่อร์เป็นเครื่องราชบรรณาการถวายแด่จักรพรรดิ์จีนมาตั้ง แต่เื่มื่อ 3,000 ปีก่อน เพียงแต่ในยุคสมัยนั้น ยังไม่มีการเรียกใบชาชนิดนี้ว่า ชาผู่เอ่อร์เท่านั้นเอง ต่อมาเมื่อมาถึงยุคราชวงศ์ถังจึงได้เริ่มบูรณาการการเพาะปลูกใบชาภายใต้ชื่อ “ชาผู่เอ่อร์” ซึ่งนับแต่นั้นมา ชาผู่เอ่อร์จึงเริ่มเป็นที่รู้จัก และ มีบทบาทที่สำคัญทางการค้า และเศรษฐกิจของประเทศจีนมาตั้งแต่อดีตกาล
เมื่อเข้าสู่ยุคสมัยราชวงศ์ชิงอันเป็นราชวงศ์สุดท้ายของจีน ความนิยมชาผู่เอ่อร์ได้พุ่งขึ้นมาถึงจุดสูงสุด โดยในขณะนั้น ชาผู่เอ่อร์มีราคาจำหน่ายที่สูงมาก ยิ่งเป็นชาผู่เอ่อร์คุณภาพดีเป็นพิเศษด้วยแล้ว อาจมีราคาจำหน่ายสูงกว่าทองคำถึงสองเท่า และเริ่มมีการใช้ชาผู่เอ่อร์เป็นชาในพระราชสำนัก ซึ่งมีคำบอกเล่าว่า ชาผู่เอ่อร์เป็นชาที่พระนางซูสีไทเฮาทรงโปรดปรานยิ่งนัก จนถึงกับมีการใช้ชาผู่เอ่อร์นี้ เป็นเครื่องราชบรรณาการถวายให้แก่จักรพรรดิ์ หรือกษัตริย์ของประเทศอื่นๆ ด้วยเมื่อมาถึงยุคสมัยที่ประเทศจีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ และสถาปนา “สาธารณรัฐประชาชนจีน” ขึ้นในปีค.ศ. 1949 ซึ่งเป็นช่วงที่ธุรกิจใบชายูนนานซบเซาลงอย่างมาก จนถึงยุคสมัยหลังการเปิดประเทศ และปฏิรูปแผนพัฒนาเศรษฐกิจของจีน รัฐบาลมณฑลยูนนานก็มิได้ให้ความสนใจต่อการพัฒนาใบชาคุณภาพที่มีประวิตศาสตร์ อันยาวนานอย่างชาผู่เอ่อร์แต่อย่างใด แต่กลับให้ความสำคัญในการเพาะปลูกชาเขียว และชาแดงเสียมากกว่าเมื่อ ถึงยุคปัจจุบัน ในช่วงที่สังคมและเศรษฐกิจมีการพัฒนามากยิ่งขึ้น ชาวจีนต่างก็มีคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ผู้คนจึงเริ่มหันมาสนใจในการดูแลรักษาสุขภาพ และให้ความสำคัญกับเรื่องของรสชาติในการบริโภคมากยิ่งขึ้น ใบชาผู่เอ่อร์จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทในสังคมจีนอีกครั้งหนึ่ง หาก แต่การกลับมาของชาผู่เอ่อร์ในครั้งนี้ มิได้เป็นที่นิยมแต่เฉพาะในมณฑลยูนนาน หรือมณฑลอื่นๆ ในประเทศจีนเท่านั้น หากแต่กระแสการดื่มชาผู้เอ่อร์ยังโด่งดังไปจนถึงฮ่องกง ไต้หวัน สิงค์โปร์ อเมริกา ฝรั่งเศส รวมถึงประเทศไทยด้วย
ใน ปัจจุบัน เมื่อชาผู่เอ่อร์กลับมาได้รับความนิยม จึงทำให้ศิลปะในการหมักบ่ม และการชงชาผู่เอ่อร์แต่โบราณได้ถูกนำมาศึกษาวิจัย และพัฒนาอย่างต่อเนื่องอีกครั้งหนึ่ง โดยประเภทและชนิดของชาผู่เอ่อร์นั้น ล้วนมีความแตกต่างกันไปในเรื่องของสรรพคุณ วิธีการชงชา การเก็บรักษา หรือแม้แต่ความสะดวกในการพกพา จากวัฒนธรรมแต่โบราณในการใช้คาราวานม้าเป็นพาหนะในการขนส่งใบชาผู่เอ่อร์ มาถึงความนิยมชมชอบด้วยสรรพคุณทางด้านตัวยาของชาผู่เอ่อร์ในปัจจุบัน จึงทำให้รัฐบาลมณฑลยูนนานตระหนักถึงคุณค่า โอกาส และความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจของชาผู่เอ่อร์ ดังจะเห็นได้จากช่วงระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา รัฐบาลมณฑลยูนนานได้ทุ่มงบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์เส้นทางโบราณสายดังกล่าว รวมถึงรื้อฟื้นวัฒนธรรมโบราณ และโฆษณาถึงประโยชน์ในกาีรบริโภคชาผู่เอ่อร์ให้รู้จักกันอย่างกว้างขวางมาก ยิ่งขึ้น
"สรรพคุณชาอู่หลง"
- ชาเขียว..น่ารู้ ประวัติชาเขียว
ชาเขียว..น่ารู้ ไร่ชาเขียวชาเขียว (「緑茶」, ryokucha, 緑茶?), จีน: 绿茶 – พินอิน: lǜchá), อังกฤษ: green tea) เป็นชาที่เก็บเกี่ยวจากพืชในตระกูล Camellia sinensis (เช่น เดียวกับ ชาขาว ชาดำ และชาอู่หลงชาที่ไม่ผ่านการหมัก ซึ่งมีประโยชน์ ต่อสุขภาพและมีคุณสมบัติในการต้านทานโรคได้นานาชนิดจึงเป็นที่นิยมของคนส่วนใหญ่ น้ำชาจะเป็นสีเขียวหรือเหลืองอมเขียว มีรสฝาดไม่มีกลิ่น… - ชาอู่หลงกับความงาม…….
ชาอู่หลงกับความงาม……. สูตรน้ำแร่ชาอู่หลง นำน้ำแร่มาต้มให้เดือด ใส่ชาอู่หลงแบบผงหรือใบชาลงไป อาจเพิ่มใบสะระแหน่สักเล็กน้อย แล้วทิ้งไว้ให้เย็น หรือนำไปแช่ในตู้เย็น ถ้าใช้ใบชา ควรกรองเอาแต่น้ำ เทใส่ขวดสเปรย์ ใช้เป็นสเปรย์น้ำแร่ชาอู่หลง จะเพิ่มความชุ่มชื่นและความเปล่งปลั่งให้กับผิวหน้า ฉีดได้ทุกเวลาที่ต้องการความสดชื่น สูตรถนอมผิวรอบดวงตา ต้มชาอู่หลงกับน้ำเดือด แล้วนำไปแช่ตู้เย็นให้เย็นจัด แล้วใช้สำลีชุบชาอู่หลงให้เปียกชุ่ม นำมาวางบริเวณเปลือกตา ทิ้งไว้ประมาณครึ่งชั่วโมง จะช่วยลดร่องรอยความอ่อนล้าของผิวรอบดวงตา และยังลดการบวมของเปลือกตาและถุงใต้ตา ผิวจะนุ่มนวลและดูสดชื่นขึ้น สูตรลดน้ำหนัก ดื่มชาอู่หลงวันละ… - ชาอู่หลง ประโยชน์ของชาอู่หลง….
ชาอู่หลง ประโยชน์ของชาอู่หลง…. ชาอู่หลง ประโยชน์ของชาอู่หลง….มีหลากหลายทั้งด้านการแพทย์และด้านอื่นๆ เช่น ทำความสะอาดพรม นอกจากใบชาแห้งจะเป็นยาดับกลิ่นได้ดีแล้ว ยังมีคุณสมบัติต่อต้านหรือหยุดการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียได้ด้วย ก่อนทำความสะอาดพรมด้วยเครื่องดูดฝุ่น ให้โปรยใบชาแห้งบนพรม ให้ทั่วทิ้งไว้สักครู่หนึ่ง หลังจากนั้นจึงดูดฝุ่นรวมทั้งใบชาทั้งหมด กลิ่นหอมสะอาดของใบชาอู่หลงจะช่วยทำให้ห้องสดชื่น รวมทั้งทำความสะอาดพรมด้วย ทำความสะอาดเครื่องครัว เราสามารถใช้กากชาอู่หลงดับกลิ่นคาวต่าง ๆ ได้ โดยหลังจากใช้เขียงประกอบอาหารแล้ว ให้นำไปล้างน้ำ หลังจากนั้นเกลี่ยใบชาเปียกให้ทั่วเขียง ทิ้งไว้สักพักใหญ่แล้วจึงใช้ใบชาขัดถูเขียงให้ทั่ว และล้างออกด้วยน้ำสะอาด… - ชาอู่หลง ข้อดีของชาอู่หลง……
ชาอู่หลง ข้อดีของชาอู่หลง…… ชาอู่หลง ข้อดีของชาอู่หลง……มีมากมายเช่น การต่อต้านโรคไขข้ออักเสบ กล่าวกันว่าชาอู่หลงช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบรูห์มาติก (rheumatoid arthritis) ที่มักจะเกิดกับสตรีวัยกลางคน อาการของโรคโดยทั่วไปคือมีอาการของการอักเสบบวมแดง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและข้อต่อลดระดับคอเลสเทอรอล สารแคเทชินในชาอู่หลง ช่วยทำลายคอเลสเทอรอล และกำจัดปริมาณของคอเรสเทอรอลในลำไส้ แค่นั้นยังไม่พอ ชาอู่หลงยังช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับที่พอดีอีกด้วย ควบคุมน้ำหนัก ถ้าคุณกำลังพยายามลดน้ำหนักอยู่ การจิบชาอู่หลงสามารถช่วยได้ดีทีเดียว จากการศึกษาโดยมหาวิทยาลัยเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์พบว่า ชาอู่หลงช่วยเร่งให้ร่างกายมีการเผาผลาญอาหารและไขมันมากขึ้น กลิ่นปากและแบคทีเรีย… - ชาอู่หลงกับประสิทธิภาพในการรักษาโรคมีด้วยกันทั้งหมด 15 วิธี คือ….
ชาอู่หลงกับประสิทธิภาพในการรักษาโรคมีด้วยกันทั้งหมด 15 วิธี คือ…. 1.การใช้ชาอู่หลงร่วมกับใบหม่อน ที่ช่วยป้องกันโรคหวัด ลดไขมันในเส้นเลือดได้เป็นอย่างดี 2.การใช้ชาอู่หลงกับส่วนหัวของต้นหอม จะช่วยขับเหงื่อ แก้ไข้หวัด 3.การใช้ชาอู่หลงร่วมกับขิงสด ช่วยรักษาอาการอาหารเป็นพิษและจุกลม ช่วยต่อต้านมะเร็งตับ 4.การใช้ชาอู่หลงร่วมกับตะไคร้แห้งจะช่วยขับไขมันในเส้นเลือด 5.การใช้ชาอู่หลงร่วมกับคึ่นฉ่ายจะช่วยในการลดความดันโลหิต 6.การใช้ชาอู่หลงร่วมกับไส้หมาก ลดน้ำตาลในเส้นเลือด 7.การใช้ชาอู่หลงร่วมกับดอกเก๊กฮวยสีเหลือง จะช่วยแก้วิงเวียนศีรษะ ตาลาย 8.การใช้ชาอู่หลงร่วมกับลูกเดือย จะลดอาการบวมน้ำ ตกขาว และมดลูกอักเสบ… - ชาอู่หลง สรรพคุณของชาอู่หลง….
ชาอู่หลง สรรพคุณของชาอู่หลง…. ชาอู่หลง เป็นเครื่องดื่มซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายหลายด้าน รวมถึงสามารถป้องกันมะเร็งผิวหนังได้ด้วย จากงานวิจัยพบว่า ดื่มชาอู่หลงทุกวันวันละประมาณ 4 แก้ว หรือมากกว่านั้น ช่วยป้องกันมะเร็งผิวหนังได้ เพราะในชาอู่หลงมีสารแอนติออกซิแดนท์ โพลีฟีนอล ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง สรรพคุณของชาอู่หลงอีกประการหนึ่ง คือช่วยลดน้ำหนัก จากการวิจัยยังพบอีกว่าสารคาเฟอีนและสารฝาดแคททิคิน ในชาอู่หลงทำให้เมตาบอลิซึมในร่างกายดีขึ้น เผาผลาญพลังงานได้มาก เป็นผลทำให้น้ำหนักตัวลดลง โดยที่ไม่มีผลกระทบต่ออัตราการเต้นของหัวใจ ชาอู่หลงทำมาจากใบชาชนิดเดียวกับที่ใช้ทำชาดำ แต่การทำชาดำจะต้องผ่านการหมักโดยใช้ใบ ชาอู่หลง - ชาอู่หลง การชงชาให้ได้รสชาติดี มีข้อสำคัญ 4 ประการ คือ….
ชาอู่หลง การชงชาให้ได้รสชาติดี มีข้อสำคัญ 4 ประการ คือ…. 1.ปริมาณใบชาอู่หลง จะใช้ใบชาเท่าไหร่นั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะของใบชา เช่น ชายที่มีรูปกลมแน่น กลมกลวม หรือเป็นเส้น ถ้าใช้ใบชาที่มีลักษณะกลม แน่น จะใช้ชาประมาณ 25 % ของกาชา ใบชาเมื่อแช่อยู่ในน้ำร้อน จะเริ่ม คลี่ตัวออกทีละน้อย จนเป็นใบชัดเจน ถ้าใส่มากเกินไป จะทำให้การคลาย… - ชาอู่หลง ใบชาอู่หลงมีสารสำคัญ 2 ชนิด
ชาอู่หลง ใบชาอู่หลงมีสารสำคัญ 2 ชนิด กาเฟอีน(caffein) ซึ่งมีอยู่ในชาอู่หลงประมาณร้อยละ 2.5 โดยน้ำหนัก ซึ่งสารชนิดนี้เองที่ทำให้น้ำชาสามารถกระตุ้น ให้สมองสดชื่น แจ่มใส หายง่วง เนื่องจากกาเฟอีนมีฤทธิ์กระตุ้นประสาท เพิ่มการเผาผลาญ เพิ่มการทำงานของหัวใจและไต ผู้ป่วยโรคหัวใจก็ไม่ควรดื่มชา เนื่องจากกาเฟอีนมีคุณสมบัติในการกระตุ้นประสาทและบีบหัวใจ แทนนิน หรือ ฝาดชา (tea tannin) พบในใบชาแห้งประมาณร้อยละ 20-30 โดยน้ำหนัก…
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)